Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

รฟท. ลงนามสัญญา ROCTEC โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม

รฟท. ลงนามสัญญา ROCTEC โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
1
เขียนโดย Intrend online 2025-04-21

กรุงเทพ, 21 เมษายน 2568 - การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือกับบริษัท ร็อคเทค โกลบอล จำกัด (มหาชน) (ROCTEC) สำหรับโครงการติดตั้งระบบเครือข่ายโทรคมนาคม ร่วมกับพันธมิตรในกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูไนเต็ด เทเลคอม เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ROCTEC ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม และมีผลงานในระบบ ICT สำหรับการรถไฟในประเทศฮ่องกง จะร่วมมือกับพันธมิตรในกลุ่มกิจการร่วมค้าในการออกแบบ และติดตั้งเครือข่ายไฟเบอร์ออปติกความเร็วสูง (High-speed fibre optic) ทั่วระบบรางของ รฟท. โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยของระบบรถไฟ การดำเนินงาน การบริหารจัดการ และการให้บริการแก่ผู้โดยสาร พร้อมทั้งวางรากฐานสำหรับการพัฒนาและความร่วมมือระยะยาวในอนาคต

 


นายเว่ย แซม แลม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ร็อคเทค โกลบอล จำกัด (มหาชน) (“ROCTEC”) เปิดเผยว่า โครงการนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร เสริมความสามารถในการควบคุมขบวนรถไฟ และลดต้นทุนในการดำเนินงาน “พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบรางดิจิทัลของประเทศไทย โครงสร้างพื้นฐานใหม่นี้จะช่วยให้ รฟท. ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รองรับการขยายเครือข่ายในอนาคต และสามารถเชื่อมต่อกับระบบรถไฟความเร็วสูงได้อย่างไร้รอยต่อ โครงการนี้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับประเทศ และจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ” โดยโครงการนี้มีกำหนดแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปี

โครงการติดตั้งระบบเครือข่ายโทรคมนาคมมีวัตถุประสงค์ในการบูรณาการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานระบบรางอัจฉริยะใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง การก่อสร้างโครงข่ายหลักของระบบโทรคมนาคม (Telecommunications Backbone) ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ส่งสัญญาณ เช่น ระบบมัลติเพล็กซ์แบบความยาวคลื่นหนาแน่น (Dense Wavelength Division Multiplexing: DWDM), เครือข่าย IP/MPLS, ระบบ IP-Backbone, ระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่าย IP (IP Telephony), ระบบโทรศัพท์ควบคุมขบวนรถไฟ และการติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสง ส่วนที่สอง มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ โดยมีการติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสงประมาณ 3,000 กิโลเมตร ครอบคลุมเส้นทางหลักของ รฟท. รวมถึงอาคารและสำนักงานต่าง ๆ พร้อมด้วยระบบ DWDM เพื่อเพิ่มแบนด์วิธและยกระดับประสิทธิภาพการสื่อสาร ขอบเขตของโครงการยังครอบคลุมการติดตั้งระบบ IP Backbone และระบบ Wi-Fi เพื่อรองรับการสื่อสารโทรศัพท์ควบคุมขบวนรถไฟและกล้องวงจรปิด (CCTV), ระบบโทรศัพท์ผ่าน VoIP และ IP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร และโครงสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งเพื่อปกป้องข้อมูลและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ นอกจากนี้ จะมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operations Centre) เพื่อการตรวจสอบระบบแบบรวมศูนย์ และบริหารจัดการระบบอย่างมีประสิทธิภาพ