Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

กรุงไทย-บีซีพีจี ประกาศความสำเร็จทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยง I-REC ครั้งแรกในไทย

กรุงไทย-บีซีพีจี ประกาศความสำเร็จทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยง I-REC ครั้งแรกในไทย
1
เขียนโดย intrend online 2025-04-29

ธนาคารกรุงไทย ผนึก บีซีพีจี ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญ ในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย เชื่อมโยง “ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน” หรือ “I-REC” เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ตอบโจทย์การทำธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนเป้าหมาย Net Zero Emission

นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในทุกมิติ สนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ล่าสุด ได้มีความร่วมมือครั้งสำคัญกับ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดระดับแนวหน้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการทำสัญญาอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่เชื่อมโยงกับ International Renewable Energy Certificate (I-REC) ซึ่งเป็นใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานระดับสากล

ทั้งนี้ บีซีพีจี ได้ส่งมอบ I-REC ให้กับธนาคาร เพื่อนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้ไฟฟ้า (Scope2) ตามเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ของธนาคาร โดยธนาคารได้ผนวกความเชี่ยวชาญด้านธุรกรรมอนุพันธ์ สนับสนุนธุรกรรมบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยให้กับกลุ่มบริษัท บีซีพีจี เพื่อช่วยให้การบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

“ความร่วมมือในธุรกรรม REC-linked Interest Rate Swap ในครั้งนี้ ไม่เพียงช่วยบริหารความเสี่ยงทางการเงิน แต่ยังเป็นแบบอย่างความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคการเงิน ในการขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนควบคู่ไปกับการจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ “กรุงไทย เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน”

นางเสาวภาพ สุเมฆศรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บีซีพีจี ไม่เพียงเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดด้วยเทคโนโลยีที่หลากหลาย แต่เรายังมุ่งเน้นนำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานของผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยครั้งนี้ได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยในการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย และได้ส่งมอบใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน หรือ International Renewable Energy Certificate (I-REC) จากโรงไฟฟ้าพลังงานลมและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อให้ธนาคารกรุงไทยได้นำใบรับรองไปใช้ในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานไฟฟ้า (Scope 2)

“ความร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย ในครั้งนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบีซีพีจีในการนำเสนอโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมใหม่ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมกันนี้ยังช่วยให้เราบริหารความเสี่ยงด้านการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมตอกย้ำบทบาทองค์กรผู้นำการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization) ของบีซีพีจีที่ให้การสนับสนุนความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก” นางเสาวภาพ กล่าวเพิ่มเติม