Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

คปภ. สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ร่วมหารือแนวทางกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย

คปภ. สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ร่วมหารือแนวทางกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย
1
เขียนโดย Intrend online 2025-04-25

สำนักงาน คปภ. สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจําประเทศไทย และหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของประเทศญี่ปุ่น ร่วมหารือแนวทางกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย รองรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินระดับโลก

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2568 นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการ คปภ. พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สำนักงาน คปภ. ให้การต้อนรับผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจําประเทศไทย Mr. Naoyuki Wada และคณะผู้บริหารจาก Financial Services Agency (FSA) of Japan, นำโดย Mr. IKEDA Satoshi, Chief Sustainable Finance Officer และ Director of the Strategy Development Division และ Mr. KURITA Akira, Director for International Cooperation และ Executive Director, Global Financial Partnership Center (GLOPAC) ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ พร้อมหารือถึงแนวทางการกำกับดูแล ภาคธุรกิจประกันภัย ซึ่งครอบคลุมถึงประเด็นและแนวโน้มที่มีนัยสำคัญต่อภาคการเงิน รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย และติดตามการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายด้านการกำกับดูแล ตลอดจนพัฒนาการภาคการเงินในประเทศไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินระดับโลก 

ทั้งนี้ ยังได้ร่วมหารือถึงประเด็นสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ แนวโน้มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยสุขภาพ สถานการณ์ดำเนินงานของบริษัทประกันภัยญี่ปุ่นในประเทศไทย ตลอดจนการปรับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 (IFRS 17) ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ