Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ เดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยสู่ความยั่งยืน

ศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ เดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยสู่ความยั่งยืน
1
เขียนโดย Intrend online 2025-05-02

การเคหะแห่งชาติเดินหน้ายกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ผ่าน "ศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ" หวังเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืนและเท่าเทียม

 


นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และประธานคณะกรรมการด้านการจัดการความรู้และนวัตกรรม การเคหะแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานเสวนา “พลังการขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่อาศัย ด้วยศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ” ณ ห้องบอลรูม 1 โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ โดยมี ผศ.ดร.อำนาจ จำรัสจรุงผล กรรมการการเคหะแห่งชาติ ดร.สมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา ประธานคณะทำงานพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งเป็นกรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) พร้อมด้วยกรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) ด้านการจัดการความรู้และนวัตกรรม และนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ พร้อมภาคีเครือข่ายภาครัฐ และเอกชนเข้าร่วมเสวนาอย่างคับคั่ง

 


นายอนุกูล กล่าวถึงความสำคัญของที่อยู่อาศัยว่า เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเป็นรากฐานของความมั่นคงทางสังคม ซึ่งสะท้อนคุณภาพชีวิตและการพัฒนาของประเทศในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม ทั้งยังสอดคล้องกับแนวทางสิทธิมนุษยชนสากลเรื่อง "สิทธิในการมีที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ" (Right to Adequate Housing) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 11 ที่เน้นการสร้างเมืองและชุมชนที่น่าอยู่ ปลอดภัย และยั่งยืนสำหรับทุกคน

“การมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและเหมาะสม คือจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยอย่างแท้จริง” นายอนุกูลกล่าวย้ำ

 


ด้านนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติได้มอบหมายให้การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานขับเคลื่อน และได้พัฒนา “ศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ” ของประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านที่อยู่อาศัยจากหน่วยงานต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ nhic.nha.co.th และ gdcatalognhic.nha.co.th โดยเน้นความครบถ้วน ถูกต้อง และทันสมัย เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดนโยบาย และการวางแผนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์ประชาชนในทุกมิติอย่างแท้จริง

“ฐานข้อมูลที่ดีคือรากฐานของการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการกำหนดนโยบายภาครัฐ การลงทุนภาคเอกชน และการตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงจุด” นายทวีพงษ์เน้นย้ำ

สำหรับการเสวนาในครั้งนี้ ถือเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ และภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ และร่วมกันขับเคลื่อนการบูรณาการข้อมูลด้านที่อยู่อาศัยให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และนโยบาย รองรับการพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืนในอนาคต