Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

การเคหะฯ จับมือ สปสช. เดินหน้าติดตั้ง “ตู้ห่วงใย” สร้างสุขภาวะชุมชนอย่างยั่งยืน

การเคหะฯ จับมือ สปสช. เดินหน้าติดตั้ง “ตู้ห่วงใย” สร้างสุขภาวะชุมชนอย่างยั่งยืน
1
เขียนโดย Intrend online 2025-04-21

วันที่ 21 เมษายน 2568 นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า วันนี้ (21 เม.ย. 68) การเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “เพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและนวัตกรรมบริการ” สำหรับประชาชนภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในโครงการที่พักอาศัยภายใต้การกำกับดูแลของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดย ตน และ นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมลงนาม และในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติอย่างสูงจาก นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  และนายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ พร้อมกล่าวแสดงความยินดี  ณ ศูนย์นวัตกรรมด้านที่อยู่อาศัยและบริการงานขาย (NHA INNOVATION CENTER) เคหะชุมชนห้วยขวาง ถนนประชาสงเคราะห์ เขตดินแดง กรุงเทพฯ 

 

 

นายทวีพงษ์ กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างกระทรวง พม. และกระทรวงสาธารณสุข ในครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง กคช. และ สปสช. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนทุกกลุ่ม โดยต่อยอดขยายผลจากนโยบาย 5×5 ฝ่าวิกฤตประชากรของ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ด้วยการขับเคลื่อนพันธกิจสำคัญ (Flagship Projects) 9 ด้าน ในด้านที่ 5 มุ่งเน้นการสร้างหุ้นส่วนทางสังคม สู่สวัสดิการที่ยั่งยืน ด้วยการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในการเข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุข เพราะการมีสุขภาพกาย - ใจที่ดีถือเป็นรากฐานในการดำเนินชีวิตประจำวันที่จะทำให้เรามีกำลังในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนของประเทศต่อไป

 

การเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง พม. ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยต่างๆ เป็นจำนวนกว่า 2 ล้านคนทั่วประเทศ ได้ร่วมกับ สปสช. ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ “เพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและนวัตกรรมบริการ” สำหรับประชาชนภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสิทธิบัตรทองที่อาศัยอยู่ในโครงการของ กคช. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้สิทธิและเข้าถึงบริการสาธารณสุขและนวัตกรรมบริการได้อย่างครอบคลุมและเท่าเทียม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง อาทิ เด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการหรือเข้าถึงได้น้อย รวมถึงจะร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายการจัดบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) บริการเชิงรุกในชุมชน ด้วยโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ ครอบคลุม 42 กลุ่มโรค เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว สามารถลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการเดินทางไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล

 

 

นายทวีพงษ์ กล่าวว่า จากการรวบรวมข้อมูลของ กคช. พบว่า ชุมชนที่อยู่ในความดูแลส่วนใหญ่ ยังเข้าไม่ถึงบริการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบาง ซึ่งมีปัญหาในการเดินทางไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ทาง กคช. จึงได้ร่วมกับ สปสช. ดำเนินการติดตั้ง “ตู้ห่วงใย” ภายในชุมชนของ กคช. เพื่อให้บริการด้านสุขภาพฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงใช้บัตรประชาชนใบเดียวเสียบที่ตู้ห่วงใยเพื่อขอรับบริการ ตรวจสุขภาพ พบแพทย์ผ่านระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)  และรอรับยาฟรีได้ที่ ตู้ห่วงใยหรือที่บ้านภายใน 30 - 60 นาที เรียกว่าเป็นบริการที่เบ็ดเสร็จครบจบในตู้ห่วงใย โดยเบื้องต้นจะนำร่องติดตั้งตู้ห่วงใยในพื้นที่โครงการเคหะชุมชนห้วยขวางและโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 2 อาคาร D1 และเพื่อความสะดวกของประชาชนจะขยายความร่วมมือเพื่อติดตั้งตู้ห่วงใยไปในทุกชุมชนของ กคช. ต่อไป