Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

SCGC เปิดตัวโซลูชันใหม่ “CHILLOX” ช่วยประหยัดพลังงาน ยกระดับคลังสินค้าห้องเย็น

SCGC เปิดตัวโซลูชันใหม่ “CHILLOX” ช่วยประหยัดพลังงาน ยกระดับคลังสินค้าห้องเย็น
1
เขียนโดย Intrend online 2025-04-21

มาตรฐานใหม่ครั้งแรกในไทย ล่าสุด ผนึก SCGJWD นำร่องใช้งานจริง มุ่งสู่ Green Logistics

กรุงเทพฯ – 21 เมษายน 2568 SCGC เปิดตัว“CHILLOX” (ชิลล็อกซ์) โซลูชันเพื่อการประหยัดพลังงานสำหรับธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็นในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดย “CHILLOX” มีเทคโนโลยีที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในคลังสินค้าห้องเย็นให้คงที่อย่างเสถียร และสามารถกักเก็บสำรองความเย็นหากเกิดสถานการณ์ผิดปกติ จึงช่วยรักษาคุณภาพของสินค้าในคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการทำความเย็นได้กว่า 15-20% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 


ล่าสุด จับมือ SCGJWD นำร่องใช้งานแห่งแรกที่ บริษัท แปซิฟิค ห้องเย็น จำกัด (PCS) และมีแผนขยายไปยังคลังห้องเย็นในจุดยุทธศาสตร์อื่นทั่วประเทศ มุ่งสู่แนวทาง “Green Logistics” ด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยลดการใช้พลังงาน สนับสนุนเป้าหมาย Net Zero และช่วยให้ธุรกิจปรับตัวสู่ยุคเศรษฐกิจสีเขียวอย่างเป็นรูปธรรม


 

นายพิสันติ์ เอื้อวิทยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เท็กซ์พลอร์ จำกัด (Texplore) ในกลุ่มธุรกิจ SCGC เผยว่า “ธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็นเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเมืองร้อนอย่างประเทศไทย ปัจจัยสำคัญคือการรักษาอุณหภูมิภายในคลังสินค้าห้องเย็นให้คงที่ ซึ่งทำให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าค่อนข้างสูง เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจที่มุ่งสู่ Green Logistics ด้วยการลดใช้พลังงาน SCGC จึงได้ออกแบบโซลูชัน “CHILLOX” เพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิให้คงที่ ลดความผันผวนภายในคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดภาระการทำงานของคอมเพรสเซอร์ จึงช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ถึง 15 – 20% และยังสามารถกักเก็บสำรองความเย็นได้นานถึง 6 ชั่วโมง รองรับสถานการณ์ไฟฟ้าดับหรือระบบทำความเย็นขัดข้อง ป้องกันการเสื่อมสภาพของสินค้าคงคลัง ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ที่ต้องควบคุมอุณหภูมิสินค้าอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ ยังสามารถประยุกต์ใช้โซลูชัน CHILLOX ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิ ระบบขนส่งควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain Logistics) เพื่อคงคุณภาพสินค้าแช่เย็นระหว่างขนส่ง และศูนย์ข้อมูล (Data Center) เพื่อระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการทำงานของอุปกรณ์ไอทีในกรณีฉุกเฉิน”

 



นายเอนก จีระธวัชชัย รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิค ห้องเย็น จำกัด (PCS) ในกลุ่มธุรกิจ SCGJWD กล่าวว่า “SCGJWD เป็นผู้ให้บริการคลังสินค้าห้องเย็นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่จัดเก็บสินค้ากว่า 200,000 พาเลท กระจายตามจุดยุทธศาสตร์ทั่วประเทศ รองรับสินค้ากลุ่มอาหารและยา ซึ่งต้องการการรักษาอุณหภูมิความเย็นที่คงที่ การนำโซลูชัน CHILLOX จาก SCGC มาใช้ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของ SCGJWD ในการพัฒนาคลังห้องเย็น และระบบโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดรับเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 โดยได้นำร่องใช้งานแล้วที่ บริษัท แปซิฟิค ห้องเย็น จำกัด (PCS) และมีแผนขยายไปยังคลังห้องเย็นในจุดยุทธศาสตร์อื่นทั่วประเทศ”