Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ธ.ก.ส. ร่วมกับ CPF หนุนสินเชื่อเกษตร Contract Farming

ธ.ก.ส. ร่วมกับ CPF หนุนสินเชื่อเกษตร Contract Farming
1
เขียนโดย Intrend online 2025-04-29

นายไพศาล หงษ์ทอง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วย 
น.สพ.จตุรงค์ โยธารักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธุรกิจสุกร บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (CPF) 
ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ระหว่าง ธ.ก.ส. และ CPF เพื่อสนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจทางการเกษตรภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ซึ่งถือเป็นระบบการผลิตและส่งมอบผลผลิตทางการเกษตรภายใต้ข้อตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้า ระหว่างเกษตรกรกับบริษัทผู้ผลิต โดยมีการกำหนดคุณภาพ ปริมาณ และรายได้ตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน 
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและรายได้อย่างยั่งยืน ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ ทั้ง 2 องค์กร จะร่วมกันยกระดับมาตรฐานคุณภาพ ประสิทธิภาพการผลิตสุกรในระบบปิด และสนับสนุนการให้บริการทางการเงินของธนาคารอย่างครบวงจร รวมถึงการให้ความรู้แก่เกษตรกร พร้อมทั้งร่วมกันสำรวจ กำหนดพื้นที่เป้าหมาย และคุณสมบัติของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โดย CPF จะสนับสนุนข้อมูลแผนการผลิต คุณภาพมาตรฐานของสุกร อาหาร ยา วัคซีน อุปกรณ์ หรือปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ตลอดจนประมาณการของจำนวนหรือปริมาณของผลผลิต ระยะเวลาคืนทุน และความคุ้มค่าในการผลิต เพื่อให้ ธ.ก.ส. นำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสินเชื่อให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจทางการเกษตรในระบบ Contract Farming ต่อไป สำหรับพิธีลงนามบันทึกเข้าใจดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุม 1502 ชั้น 15 อาคารทาวเวอร์ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่