Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ทีเส็บ เปิดตัวโครงการ The Southern MICE District: Phuket Series นำร่อง จ.ภูเก็ต

ทีเส็บ เปิดตัวโครงการ The Southern MICE District: Phuket Series นำร่อง จ.ภูเก็ต
1
เขียนโดย Intrend online 2025-02-25

ทีเส็บ ย่านเศรษฐกิจไมซ์สร้างสรรค์ The Southern MICE District Phuket Series นำร่องจังหวัดภูเก็ต ยกระดับไมซ์ไทย ผ่านกลยุทธ์ 3S

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดตัวโครงการ The Southern MICE District: Phuket Series นำร่องจังหวัดภูเก็ตต้นแบบการพัฒนาย่านเศรษฐกิจไมซ์ ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาคและเพิ่มมูลค่าให้กับพื้นที่ไมซ์ ภายใต้กลยุทธ์ 3S – Spend more, Stay longer, See you again เพื่อดึงดูดนักเดินทางไมซ์ให้ใช้จ่ายมากขึ้น พำนักนานขึ้น และกลับมาเยือนอีกครั้ง

 

 

นายพัฒนชัย สิงหะวาระ ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาคใต้ ทีเส็บ กล่าวว่า “ปัจจุบันอุตสาหกรรมไมซ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านสินค้า บริการ และพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการจัดกิจกรรม นักเดินทางไมซ์ต้องการประสบการณ์ที่ครบวงจรและเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น โครงการ The Southern MICE District เป็นการต่อยอดยุทธศาสตร์พัฒนาเมืองไมซ์จาก City DNA ภาคใต้ หรือ Destination Development ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการที่ตอบโจทย์ตลาดไมซ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยในตลาดไมซ์โลก โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ตที่เป็นศูนย์กลางไมซ์ของภาคใต้ และมีศักยภาพสูงในการดึงดูดนักเดินทางไมซ์ ทีเส็บ จึงได้พัฒนาโครงการ The Southern MICE District: Phuket Series ขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับนักเดินทางไมซ์และกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยโครงการนี้เป็นการยกระดับภูเก็ตให้เป็นต้นแบบของการพัฒนาไมซ์ระดับภูมิภาค”

 

 

โครงการ The Southern MICE District: Phuket Series ต้นแบบย่านเศรษฐกิจไมซ์ระดับภูมิภาค กำหนดเป็น 4 ย่านไมซ์สร้างสรรค์ ได้แก่ The Old Town, The North Wind, The Lagoon และ The South Shore ซึ่งนำเสนอเสน่ห์ของภูเก็ตผ่านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน อาหาร ที่พัก และธรรมชาติ นอกจากนี้ ทีเส็บยังเตรียมแผนขยายโครงการนี้ไปยังจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ เช่น สงขลา สุราษฎร์ธานี เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ไทยสู่ระดับสากล

 

 

อีกทั้ง โครงการนี้ออกแบบมาให้ช่วยเพิ่มการใช้จ่ายและตอบสนองความต้องการของนักเดินทางไมซ์ ผ่านการสร้างประสบการณ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ที่พักระดับพรีเมียม ร้านอาหารท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ แพ็กเกจกิจกรรมเชิงธุรกิจและสันทนาการ ไปจนถึงโครงสร้างพื้นฐานที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้าร่วมงาน นอกจากนี้ การพัฒนาไมซ์ดิสทริกต์ยังช่วยตอบสนองความต้องการของนักเดินทางไมซ์ที่มองหาสถานที่จัดงานที่มีเอกลักษณ์ บริการครบวงจร และสิทธิพิเศษที่คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านธุรกิจและการท่องเที่ยว และเพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้จ่าย

 

 

โดย MICE Industry หรือ อุตสาหกรรมไมซ์ (MICE - Meetings, Incentives, Conventions, Exhibitions) ถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างรายได้ให้กับชุมชนและผู้ประกอบการท้องถิ่น รวมถึงเสริมภาพลักษณ์ของไทยในฐานะศูนย์กลางการจัดประชุมและงานแสดงสินค้าระดับสากล ซึ่งที่ผ่านมา ทีเส็บได้ดำเนินโครงการ MICE City ในจังหวัดสำคัญ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พัทยา เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และสงขลา เป็นการช่วยกระจายรายได้ลงสู่ท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันในตลาดไมซ์ระดับนานาชาติได้ดียิ่งขึ้น

 

 

ด้านนางสริตา จินตกานนท์ ผู้เชี่ยวชาญ ทีเส็บ กล่าวเสริมว่า “ทีเส็บ ได้ร่วมกับ บริษัท วีซ่า ผู้นำการให้บริการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก เปิดตัวบัตร Thailand MICE Visa Prepaid Card ออกแบบมาเพื่อกลุ่มนักเดินทางธุรกิจทั้งชาวต่างชาติและชาวไทย รวมถึงผู้ประกอบการ SME เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับกลุ่มนักเดินทางดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร ชอปปิง โรงแรม ตั๋วเครื่องบิน บริการรถลีมูซีน สปา บริการรับฝากหรือจัดส่งสัมภาระที่สนามบิน บริการขนส่ง การเดินทาง สิทธิพิเศษจากสถานที่จัดงาน ในการมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับนักเดินทางไมซ์ โดยกลยุทธ์การตลาดปี 2568 ของบัตร Thailand MICE Visa Prepaid Card จะครอบคลุมเมืองไมซ์ซิตี้หลัก โดยจังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางไมซ์ของภาคใต้และมีศักยภาพสูง เน้นกลยุทธ์การขยายเพิ่มจำนวนสมาชิกผู้ถือบัตร กระตุ้นการใช้จ่ายในภูมิภาค ซึ่งในปี 2568 นี้ ทีเส็บตั้งเป้าว่าจะมีผู้ถือบัตรจำนวน 30,000 คน มีการใช้จ่ายต่อคนต่อทริปของนักเดินทางไมซ์เพิ่มขึ้นประมาณ 5 %”

“โครงการ The Southern MICE District: Phuket Series จะทำให้จังหวัดภูเก็ตกลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาย่านไมซ์ระดับภูมิภาค ที่ไม่เพียงสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไทย แต่ยังช่วยยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์สู่มาตรฐานโลก และยังช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ไทยในปี 2568 นี้ ให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งจะมีนักเดินทางไมซ์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมทั้งสิ้น 34 ล้านคน สร้างรายได้ให้กับประเทศ 200,000 ล้านบาท” นายพัฒนชัย กล่าวทิ้งท้าย