Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

วีซ่า - เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ ผสานร่วมมือเพิ่มแกร่งภูมิทัศน์การชำระเงินของไทย

วีซ่า - เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ ผสานร่วมมือเพิ่มแกร่งภูมิทัศน์การชำระเงินของไทย
1
เขียนโดย intrend online 2024-04-30

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, วันที่ 30 เมษายน 2567- วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก และบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (NITMX) ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินสำหรับผู้ประกอบการภาคธุรกิจทางการเงินในประเทศไทย ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่มุ่งส่งเสริมการเข้าถึงทางการเงินและสนับสนุนระบบนิเวศการเงินดิจิทัลที่ทันสมัยในประเทศไทยให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล

 
ความร่วมมือระหว่าง วีซ่า และ NITMX มุ่งเน้นไปที่การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีการชำระเงินที่ทันสมัยของวีซ่า และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการเงินของ NITMX เพื่อหาโอกาสเติบโตในภูมิทัศน์การชำระเงินดิจิทัลที่กำลังขยายตัว สำหรับความร่วมมือตามหนังสือบันทึกความเข้าใจร่วมกันนี้มีเป้าประสงค์เพื่อขับเคลื่อนความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และการส่งเสริมนวัตกรรมในระบบการชำระเงินของประเทศไทย
 
นายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “วีซ่า มีความยินดีที่ได้บรรลุข้อตกลง MOU นี้กับ NITMX ที่เป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของสองผู้เล่นชั้นนำด้านการเงินเพื่อรับมือกับความท้าทายในอุตสาหกรรมการเงิน และยิ่งกว่านั้น เราตื่นเต้นที่ได้ร่วมมือกันในการร่วมพัฒนาโซลูชันทางการเงินใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจผ่านการมอบประสบการณ์การชำระเงินที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยปลอดภัยมากขึ้นแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการธุรกิจไม่ว่ารายเล็กหรือใหญ่ในประเทศไทย”
 


นางสาววรรณา นพอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด กล่าวว่า “NITMX คือผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินระดับประเทศที่ให้บริการระบบการชำระเงินในประเทศไทย อาทิ เครือข่าย Local Switching และพร้อมเพย์ เราตั้งใจที่จะเป็นบริษัทด้านนวัตกรรมที่ยกระดับระบบการชำระเงินของประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากล การร่วมมือกับผู้นำด้านการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลกอย่างวีซ่าจะช่วยผลักดันให้เกิดพัฒนาการของระบบนิเวศการชำระเงินดิจิทัลแบบองค์รวม สิ่งที่เรามุ่งหวังจากความร่วมมือครั้งนี้คือการทำงานร่วมกันภายใต้กรอบการทำงานที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถมองหาโอกาสที่เป็นไปได้ การประเมินเงื่อนไข และการมีส่วนร่วมในโครงการและการร่วมมือกันในอนาคตของ NITMX กับวีซ่า”
 
ภายใต้บันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) วีซ่า และ NITMX จะหารือถึงความร่วมมือที่จะมีขึ้นของสององค์กรในหลากหลายด้าน อาทิ การตรวจจับและการป้องกันการฉ้อโกง โทเคนไนเซชั่น และการชำระเงินผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ด
 
ในความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปนั้น วีซ่า และ NITMX มุ่งไปที่การเสาะหาวิวัฒนาการสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ในภูมิทัศน์ด้านการชำระเงินของประเทศไทย ทั้งนี้ การร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวย่างที่สำคัญต่อความก้าวหน้าของโครงสร้างพื้นฐานด้านการชำระเงินดิจิทัลและการเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจทั่วประเทศไทยอย่างต่อเนื่องต่อไป