Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ทีทีบี เสริมศักยภาพธุรกิจ SME ด้วย'บัตรเครดิตนิติบุคคล ทีทีบี'สะดวก ลดต้นทุน

ทีทีบี เสริมศักยภาพธุรกิจ SME ด้วย'บัตรเครดิตนิติบุคคล ทีทีบี'สะดวก ลดต้นทุน
1
เขียนโดย intrend online 2024-09-17

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี มุ่งเสริมศักยภาพจัดการธุรกิจ SME อย่างครบวงจร ด้วย “บัตรเครดิตนิติบุคคล ทีทีบี” (ttb corporate card) ตัวช่วยในการบริหารจัดการต้นทุนของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มความสะดวก ลดต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย เสริมแกร่งให้ลูกค้าธุรกิจก้าวผ่านความท้าทายต่าง ๆ พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน

นางกนกพร จูฑา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารผลิตภัณฑ์ธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า จากการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่มีความท้าทายในปัจจุบัน ผู้ประกอบการ SME ต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายภายในบริษัทให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยค่าใช้จ่ายมีหลายประเภท ได้แก่ รายจ่ายประจำวัน ค่าใช้จ่ายทั่วไป ค่าน้ำมัน ค่าที่พักและการเดินทาง ค่าสันทนาการ หรือแม้แต่ค่าเลี้ยงรับรองในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งในบางครั้งไม่สามารถชำระได้ด้วยเงินสด หรือ จำเป็นต้องให้พนักงานเบิกสำรองจ่าย และยังต้องกระทบไปถึงกระบวนการด้านงานเอกสาร ด้านความปลอดภัย และการตรวจสอบความโปร่งใสต่าง ๆ

ทีทีบี เล็งเห็นถึงความสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจของลูกค้า และมุ่งมั่นในการออกแบบเครื่องมือ หรือ ตัวช่วยในการบริหารจัดการต้นทุนของธุรกิจให้ได้ดียิ่งขึ้นและครบวงจร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการธุรกิจโดยเฉพาะ SME โดยก่อนหน้านี้ ทีทีบีเป็นธนาคารแรก ที่ได้มีการพัฒนาออนไลน์แพลตฟอร์ม เพื่อช่วยในการบริหารจัดการบัตรเครดิตน้ำมัน (ttb fleet card) มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การควบคุมค่าใช้จ่ายน้ำมัน เพิ่มความสะดวกคล่องตัว และช่วยบริหารจัดการต้นทุนด้านการเดินทางและการขนส่งให้แก่ธุรกิจได้เป็นอย่างดี

ล่าสุด ธนาคารได้นำเสนอ “บัตรเครดิตนิติบุคคล ทีทีบี” (ttb corporate card) เพื่อต่อยอดการให้บริการที่สามารถดูแลด้านค่าใช้จ่ายของธุรกิจให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นตัวช่วย SME ในการเพิ่มสภาพคล่องให้บริษัท ลดการใช้เงินสด ลดงานด้านเอกสารในการเบิกจ่าย ควบคุมค่าใช้จ่ายของพนักงานให้เป็นไปตามนโยบายบริษัท รวมถึงสามารถตรวจสอบความโปร่งใสได้อย่างครบวงจร ซึ่งมีจุดเด่น ได้แก่

1. ช่วยลดขั้นตอนกระบวนการทำงาน ลดขั้นตอนการอนุมัติหลายขั้นตอน ตอบโจทย์ปัญหาการเบิกจ่ายแบบเดิมที่มีขั้นตอนการอนุมัติและมีรอบในการชำระคืนที่ค่อนข้างนาน ลดความซับซ้อนและเวลาที่ใช้ในการจัดการเอกสาร

2. ควบคุมค่าใช้จ่าย ทำให้ติดตาม ตรวจสอบ และควบคุมค่าใช้จ่ายของพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทสามารถกำหนดวงเงินบัตรแต่ละใบให้เหมาะสม เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนธุรกิจ

3. เพิ่มสภาพคล่อง ด้วยวงเงินบัตรสูงสุดถึง 5 ล้านบาท พร้อมระยะปลอดดอกเบี้ยสูงสุด 50 วัน ทำให้ธุรกิจมีสภาพคล่องและหมุนเวียนเงินสดได้สะดวก เพิ่มโอกาสทางธุรกิจพร้อมลดภาระดอกเบี้ย

4. บริหารจัดการง่าย บริษัทสามารถบริหารจัดการบัตร ออกบัตร ปรับเปลี่ยนวงเงินในบัตรได้ตามความต้องการของบริษัท

5. สิทธิประโยชน์ครอบคลุม มีการคุ้มครองครอบคลุมทุกทริปธุรกิจ ด้วยประกันอุบัติเหตุการเดินทางสูงสุด 10 ล้านบาท

ทีทีบี มุ่งมั่นในการเป็นพันธมิตรที่ลูกค้าธุรกิจและเอสเอ็มอีไว้วางใจ พร้อมดูแลและให้คำปรึกษาแบบองค์รวม ตั้งแต่การให้คำแนะนำด้านผลิตภัณฑ์ บริการ และดิจิทัลโซลูชันต่าง ๆ ที่ช่วยลดต้นทุนการบริหารธุรกิจได้สูงสุดทั้งเรื่อง ซื้อ ขาย รับ จ่าย ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถขับเคลื่อนธุรกิจในทุกสถานการณ์จนประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน

ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจ “บัตรเครดิตนิติบุคคล ทีทีบี” สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจของท่าน (หากท่านเป็นลูกค้าธุรกิจของทีทีบี) หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต โทร. 0 2643 7000 วันจันทร์ถึงวันเสาร์ เวลา 08:00 - 20:00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร