Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ยูโอบี เผยมุมมอง ชัยชนะเลือกตั้งของทรัมป์ส่งผลอย่างไรต่อพอร์ตลงทุน

ยูโอบี เผยมุมมอง ชัยชนะเลือกตั้งของทรัมป์ส่งผลอย่างไรต่อพอร์ตลงทุน
1
เขียนโดย ธนาคารยูโอบี 2024-11-21

กรุงเทพฯ, 21 พฤศจิกายน 2567 – ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เผยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับพอร์ตการลงทุน หลังจากที่โดนัลด์ ทรัมป์และพรรครีพับลิกันชนะการเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของสหรัฐฯ ตลาดการเงินและพอร์ตการลงทุนอาจเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการประกาศแนวนโยบายของสหรัฐฯ โดยปฏิกิริยาของตลาดในเบื้องต้นหลังการเลือกตั้งมีแนวโน้มเป็นบวก ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น และมูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลงในระยะสั้น เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับภาษี ทั้งนี้ หากรัฐสภาใหม่ยังคงนำโดยพรรครีพับลิกัน ความไม่แน่นอนด้านนโยบายและการกำกับดูแลในอนาคตอาจนำไปสู่ความผันผวนของตลาด

ผลกระทบของการเลือกตั้งครั้งนี้ต่อตลาดและการลงทุน

- แนวโน้มภาพรวมของตลาด: แม้ว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทที่แข็งแกร่งทำให้ตลาดตอบสนองในเชิงบวก นักลงทุนยังคงควรเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการค้า อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่อาจเกิดขึ้น คาดว่านโยบายของทรัมป์จะยังคงเน้นการลดภาษีและการลดการกำกับดูแล ซึ่งอาจกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แต่อาจทำให้เกิดความผันผวนในตลาดในระยะสั้นได้

- หุ้นสหรัฐฯ: ภายใต้กลยุทธ์ “อเมริกาต้องมาก่อน (America First)” นโยบายต่างประเทศของทรัมป์คาดว่าจะช่วยสนับสนุนบางภาคส่วน เช่น การเงิน อุตสาหกรรม การผลิต และพลังงาน อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียนอาจได้รับผลกระทบ หากมีการยกเลิกกฎหมายลดเงินเฟ้อ (Inflation Reduction Act) ในขณะเดียวกัน ภาษีที่สูงขึ้นและนโยบายตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดขึ้นอาจกระทบต่อการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ จากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

- ตราสารหนี้และอัตราดอกเบี้ย: นโยบายการปรับลดภาษีและแนวโน้มการใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นอาจกดดันต่อการขาดดุลการคลังที่สูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลทำให้กระทรวงการคลังต้องออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าในระยะสั้นพันธบัตรอาจเผชิญแรงกดดันจากการขาย แต่ตราสารหนี้ที่มีคุณภาพมีอัตราผลตอบแทน(yield) ที่ยังคงมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการลดอัตราดอกเบี้ย

- ผลกระทบระหว่างประเทศ: เศรษฐกิจจีนอาจได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีที่ทรัมป์เสนอ ซึ่งอาจทำให้รัฐบาลจีนต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน หุ้นในอาเซียนและเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) อาจได้รับประโยชน์จากการย้ายห่วงโซ่อุปทาน หากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังคงเพิ่มขึ้น

กลยุทธ์การลงทุนในรัฐบาลใหม่

- เน้นกระจายการลงทุนและสร้างความยืดหยุ่น: นักลงทุนควรมีพอร์ตการลงทุนที่หลากหลายเพื่อบริหารความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายของทรัมป์ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและผลประกอบการที่มั่นคงสนับสนุนแนวโน้มเชิงบวกในตลาดหุ้น แต่นักลงทุนควรมีความยืดหยุ่นเพื่อรับมือกับการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

- พิจารณาสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำ (defensive assets): ตราสารหนี้ที่มีคุณภาพสูงและศักยภาพในการสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอเหมาะสำหรับพอร์ตการลงทุนที่เน้นความมั่นคง นอกจากนี้ หุ้นในอาเซียนและเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่มีระดับมูลค่าและอัตราเงินปันผลที่น่าสนใจยังคงเป็นโอกาสในการลงทุนที่ดีในสภาวะการเปลี่ยนแปลงการค้าระหว่างประเทศ

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยขอแนะนำนักลงทุนให้ติดตามข้อมูลข่าวสารและปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของนโยบายสหรัฐฯ และสภาวะเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพพอร์ตการลงทุนในการบริหารความเสี่ยงและคว้าโอกาสในการลงทุน

 

โดยนายกิดอน เจอโรม เคสเซล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผลิตภัณฑ์เงินฝากและบริหารการลงทุนบุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย