Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

เศรษฐกิจไทยปี 2567 ขยายตัว 2.5% ใกล้เคียงกับที่คาด

เศรษฐกิจไทยปี 2567 ขยายตัว 2.5% ใกล้เคียงกับที่คาด
1
เขียนโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 2025-02-18

เศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้

โดยสรุป ไตรมาสที่ 4 ปัจจัยขับเคลื่อน GDP มาจากการลงทุนและการบริโภคภาครัฐที่ขยายตัวสูงจากฐานที่ต่ำในช่วงไตรมาส 4/2567 ดุลการค้า (ฐานดุลบัญชีเดินสะพัด) ที่เกินดุลสูงตามการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ประกอบกับรายได้จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง แม้การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้ทั้งปี 2567 GDP ขยายตัวที่ 2.5% 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อยที่ 2.4% 

- การส่งออกไทยในปี 2568 คาดว่าจะเติบโตชะลอลง แม้จะได้รับแรงสนับสนุนบางส่วนจากการเร่งนำเข้าสินค้าก่อนการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ประกอบกับวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไทยมีความเสี่ยงที่จะถูกสหรัฐฯ จัดเก็บภาษีในลำดับถัดไป เนื่องจากไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ในระดับสูงและมีการเก็บภาษีนำเข้าเฉลี่ยสูงกว่าสหรัฐฯ ซึ่งการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ มีแนวโน้มส่งผลให้การส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลง ขณะที่การส่งออกไทยยังไปยังตลาดโลกมีแนวโน้มเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้นและอุปสงค์ที่ลดลง 

 

- การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อน แม้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล อาทิ มาตรการแจกเงิน 10,000 บาท และมาตรการลดหย่อนภาษี (Easy E-receipt 2.0) อาจช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายได้ในระยะสั้น อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคมีแนวโน้มใช้ความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

- จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 37.5 ล้านคน แต่อัตราการขยายตัวลดลงจากปีก่อนหน้า และมีความไม่แน่นอนจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ การแข่งขันด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ รวมถึงประเด็นภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัยของไทย

- อย่างไรก็ดี การบริโภคภาคเอกชน การส่งออก และการท่องเที่ยวคาดว่าจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ แม้โมเมนตัมชะลอลง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นจากเม็ดเงินการลงทุนจากต่างประเทศ ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า นอกจากนี้ การลงทุนและการบริโภคภาครัฐคาดว่าจะยังขยายตัวได้ดี แต่อัตราการขยายตัวอาจต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากฐานปี 2567 ที่ออกมาสูงกว่าที่คาด ประกอบกับการเบิกจ่ายงบรัฐวิสาหกิจที่คาดว่าลดลงในปีนี้