Breaking News

SCB EIC ประเมินมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยจะสามารถขยายตัวได้ที่ 2.6% ในปี 2024 (ณ เดือน ก.ย. ตัวเลขระบบดุลการชำระเงิน) อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกที่ผ่านมาในเดือน ก.ค. และ ส.ค. ขยายตัวดีต่อเนื่องและสูงกว่าที่ SCB EIC คาดการณ์ไว้และสูงกว่ามุมมองตลาดมาก[2] นอกจากนี้ การส่งออกของไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระยะถัดไปจากเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวได้ในภาพรวม แม้จะชะลอตัวลงบ้างในหลายประเทศ รวมถึงวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขาขึ้น และแรงกดดันด้านค่าระวางเรือที่เริ่มลดลง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในปี 2024 อาจขยายตัวได้มากกว่าประมาณการเดิมที่ 2.6% แต่ต้องจับตาผลกระทบเพิ่มเติมจากปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของไทย การแข็งค่าของเงินบาท และการยกเลิกมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวของอินเดีย

CardX เผยครึ่งปีแรกเติบโตต่อเนื่อง ขานรับ ธปท.ลดภาระ-เสริมสภาพคล่องกลุ่มเปราะบาง

CardX เผยครึ่งปีแรกเติบโตต่อเนื่อง  ขานรับ ธปท.ลดภาระ-เสริมสภาพคล่องกลุ่มเปราะบาง
1
เขียนโดย Intrend online 2024-10-01

กรุงเทพฯ – 1 ตุลาคม 2567- คาร์ดเอกซ์ (CardX) เผยผลประกอบการครึ่งปีแรกเติบโตต่อเนื่อง โดยหมวดธุรกิจที่มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเติบโตสูงสุด เรียงตามยอดการใช้จ่าย 5 อันดับแรก ได้แก่ ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่หรือไฮเปอร์มาร์เก็ต ประกันภัย การศึกษา โรงแรม และดีพาร์ทเมนท์สโตร์ สะท้อนคนไทยเน้นการเลือกซื้อเฉพาะสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตมากกว่าการจับจ่ายกับสินค้าที่มีความฟุ่มเฟือย สอดคล้องไปกับเหตุจูงใจด้านสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 2567 อยู่ที่ 5-8% พร้อมขานรับนโยบายเร่งด่วนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสถานการณ์น้ำท่วม มุ่งสนับสนุนช่วยเหลือเพื่อช่วยลดภาระ และเสริมสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ รวมถึงแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนไปพร้อมกัน โดยยังคงให้ความสำคัญกับการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) อย่างต่อเนื่อง

จากการศึกษาแนวโน้มสถานการณ์ทางเศรษฐกิจครึ่งปีหลังของไทยจาก SCB EIC พบว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงมีความระมัดระวังในการจับจ่าย แม้ว่าหลายภาคส่วนจะมีการเร่งปรับตัว พร้อมมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวได้อย่าวรวดเร็ว ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังปรับลดลงต่อเนื่องตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น นอกจากนี้ ภาระหนี้ครัวเรือนยังคงกดดันสภาวะการใช้จ่ายในปัจจุบัน ยังผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไป การจับจ่ายใช้สอยในแต่ละครั้งของผู้คนในปัจจุบัน เริ่มมีการวางแผนมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจภาพรวมในสถานการณ์ครึ่งปีหลัง จะมีการปรับตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาลที่มีการเบิกจ่ายงบประมาณที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังเร่งดำเนินการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจโค้งสุดท้ายของปีในภาพรวม

นายสารัชต์ รัตนาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาร์ด เอกซ์ จำกัด (CardX) เปิดเผยว่า “พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในปัจจุบัน หลายครอบครัวเลือกที่จะจับจ่ายซื้อของด้วยความรอบคอบ วางแผนการใช้จ่าย และเลือกซื้อของใช้ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ลดการใช้จ่ายกับสินค้าที่ฟุ่มเฟือย โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ทั้งด้านการใช้งานและราคา อีกทั้งยังมองหาโปรโมชัน หรือส่วนลดที่คุ้มค่าต่อการซื้อของในแต่ละครั้งมากที่สุด สะท้อนผ่านการจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตรเครดิตของคาร์ดเอกซ์ โดยหมวดธุรกิจที่มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่มีอัตราเติบโตสูงสุดในช่วงครึ่งปีแรกเทียบกับปีที่แล้ว เติบโตระหว่าง 8%-17% ได้แก่ ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่หรือไฮเปอร์มาร์เก็ต (+17%) ประกันภัย (+12%) การศึกษา (+11%) โรงแรม (+9%) และดีพาร์ทเมนท์สโตร์ (+8%) ตามลำดับ ซึ่งมีการเติบโตสอดคล้องกับแผนการดำเนินธุรกิจที่คาร์ดเอกซ์ ที่มุ่งผลักดันการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ผ่านแคมเปญ โปรโมชันต่างๆ รวมถึงความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในทุกภาคส่วนที่มีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี "

โดยผลประกอบการในช่วงที่ผ่านมา ถือว่ามีการเติบโตอย่างมั่นคงเป็นที่น่าพอใจจากการเดินกลยุทธ์ของบริษัทที่มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการขยายระบบนิเวศด้านพันธมิตร เพื่อร่วมกันนำเสนอสิทธิพิเศษที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลอดทั้งปี โดยในช่วงปลายปีที่กำลังจะมาถึงนี้ จะเริ่มเข้าสู่ช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองและการท่องเที่ยว คาร์ดเอกซ์ ได้เตรียมแผนการตลาดที่จะกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงนี้อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นที่ธุรกิจช้อปปิ้ง ท่องเที่ยว และ ร้านอาหาร เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้าในช่วงเทศกาลแห่งความสุขที่กำลังจะมาถึง

นอกจากนี้ คาร์ดเอกซ์ ยังคงเดินหน้าขานรับมาตรการต่าง ๆ ให้สอดคล้องและเป็นไปตามแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยเฉพาะมาตรการในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ อย่างเหมาะสม อาทิ


1. มาตรการเร่งด่วนสำหรับการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อช่วยลดภาระ และเสริมสภาพคล่องของลูกหนี้ โดยการผ่อนปรนเงื่อนไขบางประการ อาทิ การพักชำระหนี้สูงสุด 3 รอบบัญชี โดย คาร์ดเอกซ์ยังคงให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนตามแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยมาโดยตลอด เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการเงินที่เหมาะสมและไม่กระทบต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกค้าแต่ละราย พร้อมทั้งสร้างความเป็นไปได้ทางการเงินอย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม

2. มาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต ให้ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 8 ออกไปอีก 1 ปี จนถึงสิ้นปี 2568 เพื่อช่วยลดภาระการจ่ายชำระหนี้และรักษาสภาพคล่องให้ครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง และให้เครดิตเงินคืน เพื่อจูงใจให้ลูกหนี้ปิดจบเร็วขึ้น โดยครึ่งปีแรก ลูกหนี้ที่ผ่อนชำระหนี้ขั้นต่ำมากกว่าหรือเท่ากับ 8% จะได้รับเครดิตเงินคืนเทียบเท่ากับการลดดอกเบี้ย 0.5% ของยอดค้างชำระ และ 0.25% สำหรับครึ่งปีหลังของปี 2568

“คาร์ดเอกซ์ เข้าใจสถานการณ์ที่ท้าทายในขณะนี้ พร้อมเดินหน้าช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ลูกค้าของคาร์ดเอกซ์ ยังสามารถใช้โปรโมชันผ่อนสินค้า รวมถึงรายการส่งเสริมการขายร่วมกับเครือข่ายร้านค้าและพันธมิตรอื่น ๆ ที่มีความหลากหลาย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินให้กับทุกท่าน เพื่อให้ทุกความจำเป็นทางการเงินเป็นไปได้ด้วยบัตรเครดิตและสินเชื่อจากคาร์ดเอกซ์ โดยเรายังคงให้ความสำคัญกับการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) อย่างต่อเนื่อง และเน้นย้ำการให้ความรู้ทางด้านการเงิน พร้อมทั้งการวางแผน และสร้างความเข้าใจเรื่องการเป็นหนี้ และวินัยทางการเงิน พร้อมส่งเสริมการกู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว” นายสารัชต์ กล่าวเสริม

ในส่วนของผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรก 2567 ที่ผ่านมา ยอดสินเชื่อรวมครึ่งปีแรก อยู่ที่ 103,000 ล้านบาท ฐานสมาชิกรวม 2.9 ล้าน บัญชี สำหรับครึ่งปีหลัง 2567 ทางคาร์ดเอกซ์ ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของการใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 5-8% เพราะธุรกิจในขณะนี้ยังคงเผชิญปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีความท้าทาย และยังต้องระมัดระวังอยู่ตลอด โดยกลยุทธ์หลังจากนี้ จะยังคงเน้นการเติบโตและกระตุ้นการใช้จ่ายในกลุ่มลูกค้าเดิม ควบคู่ไปกับการเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีรายได้สูงขึ้น และเฝ้าระวังหนี้เสียให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตลอดครึ่งปีหลัง